วางแผนการเงินกับอาจารย์ปิง | วางแผนภาษี 2564 ลดหย่อนภาษีผ่าน RMF และ SSF ต่างกันอย่างไร?
แก้ไขเมื่อ : 18 ธ.ค. 2564
ลดหย่อนภาษีผ่านกองทุนรวม RMF และ SSF มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่างกันอย่างไร?
สำหรับคนที่กำลังมองหาแนวทางในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรดา วางแผนการเงินกับอาจารย์ปิงวันนี้ ผมจะมาแนะนำอีก 1 แนวทางที่เราสามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กับ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
อย่างไรก็ตามกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นั้นมีวัตถุประสงค์ สิทธิประโยชน์ทางภาษี เงื่อนไขในการลงทุน และนโยบายในการจ่ายปันผลที่อาจแตกต่างกันดังต่อไปนี้ครับ
กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) |
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) |
|
วัตถุประสงค์ |
ส่งเสริมการออมเงินระยะยาว |
ส่งเสริมการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ |
สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนหักลดหย่อนภาษี
|
เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนหักลดหย่อนภาษี
|
เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม เบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน | ||
เงื่อนไขในการลงทุน |
ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง |
|
ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ | ||
ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี | ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี (หรืออย่างน้อยซื้อปีเว้นปี) |
|
ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุน |
ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก |
|
ไม่มีการกำหนดอายุของผู้มีเงินได้ในการไถ่ถอน | ไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ | |
สินทรัพย์ที่ลงทุนได้ |
สินทรัพย์ทุกประเภท เช่น เงินฝาก ตราสารในตลาดเงิน ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ อสังหาริมทรัพย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
|
นโยบายจ่ายปันผล |
จ่ายเงินปันผลหรือไม่ก็ได้ |
ไม่จ่ายเงินปันผล |
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ากองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กับ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีจูงใจให้หลายๆคนหันมาสนใจที่จะลงทุน แต่ผมอยากให้เรามองภาพกว้างขึ้นว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นเพียงผลพลอยได้ที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ก็จริง แต่ก็อยากให้ทุกคนไม่ลืมว่าการวางแผนภาษีเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้ชีวิตของเรามีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย และมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีความมั่นคงในชีวิต แต่ยังต้องบูรณาการกับการวางแผนการเงินในมิติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนสภาพคล่อง การวางแผนประกัน การวางแผนลงทุน และการวางแผนเกษียณ ติดตามวางแผนการเงินกับอาจารย์ปิงในตอนต่อๆไปว่าเราจะมีสาระดีๆอะไรมานำเสนอเพื่อช่วยทำให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้นอีกได้บ้างครับ